อังษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

ลักษณะ "อุจจาระ 9 แบบ" ฟ้อง ปัญหาสุขภาพ ของเราได้ (Feces 9 Types Can Tel...



อ้างอิง แหล่งที่มา ข้อมูลและภาพ ลิงค์บทความ เครดิตข้อมูล และ เครดิตภาพ สามารถอ่านความรู้ ศึกษาเพิ่มเติม ได้ดังต่อไปนี้ https://www.wittyfeed.com/story/10747... https://knowledge.jarm.com/view/41692 ขอขอบคุณ เครดิตภาพ http://imgur.com/FNc1D ขอบคุณข้อมูลจาก Boxza http://www.share-si.com/2015/11/blog-... http://www.rak-sukapap.com/2016/06/bl... http://www.share-si.com/2017/04/9.html http://www.kidtam.com/2298 http://www.siaminsider.com/21261 https://pixabay.com

วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2562

5 สาเหตุท้องผูกในผู้สูงอายุ และวิธีแก้ ดูแลตัวเองด้วยอาหาร

1. การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย 

เมื่ออายุเข้าสู่วัย 60 ปี ร่างกายรวมทั้งระบบการย่อยทำงานเสื่อมถอยและไม่เป็นปกติ การบีบตัวของลำไส้น้อยลง การย่อยและดูดซึมไม่สมบูรณ์ทำให้มีของเสียตกค้างมาก และเมื่อขับถ่ายน้อย ของเสียยิ่งค้างในลำไส้นาน น้ำจะถูกดูดกลับ ทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ยิ่งทำให้ขับถ่ายยาก


2. การกินอาหาร 

กากใยทั้งจากพืชและผลไม้ทำงานร่วมกันในการช่วยกระตุ้นให้ขับถ่าย รวมทั้งให้การขับถ่ายง่ายขึ้น ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ เพราะเคี้ยวลำบากเจ็บฟันและเหงือก หรือ บางคนกินผักผลไม้แล้วท้องอืด อึดอัด ทั้งยังมีพฤติกรรมดื่มน้ำน้อยเพราะหลีกเลี่ยงการเข้าห้องน้ำ เนื่องจากลำบากที่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ นี่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้

3. การเสียสมดุลในลำไส้ใหญ่ เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวินะ

ยาปฏิชีวนะไม่เพียงกำจัดเชื้อโรคเท่านั้น แต่ยังทำลายโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ตายด้วย โพรไบโอติกส์มีความสำคัญต่อการรักษาความแข็งแรงของลำไส้ใหญ่และกระตุ้นการขับถ่าย ผู้สูงอายุที่ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน มักสูญเสียโพรไบโอติกส์ ลำไส้จึงเสียสมดุล ทำให้ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในผู้สูงอายุเสมอๆ


4. การเคลื่อนไหวน้อย 

การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว และเป็นการกระตุ้นการขับถ่าย ดังนั้นผู้สูงอายุที่ชีวิตประจำวัน นั่ง หรือ นอนนานๆ มักจะท้องผูกมากกว่าผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆเป็นประจำ


5. ผลข้างเคียงของยา

ยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ชนิดสเตียรอยด์ ยาลดความดันบางชนิด ยาลดกรด เช่น อลูมินัมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น

ท้องผูกแก้ได้

การใช้ยาระบายหรือยาสวนเป็นทางออกที่หลายคนเลือกใช้ เพื่อแก้ไขการท้องผูก แต่นั่นเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ หลายคนพึ่งยาระบายหรือยากสวนเป็นประจำจนร่างกายติด ถ้าไม่ได้ยาก็ถึงขั้นไม่ถ่ายกันเลยทีเดียว จริงๆแล้วภาวะท้องผูกสามารถแก้ไขได้ง่ายๆด้วยการปรับอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน
1. กินอาหารที่มีใยอาหารสูงให้หลากหลาย 

อาหารที่ให้ใยอาหารสูงได้แก่ผัก ผลไม้ ธัญพืช และผลไม้แห้งบางชนิด ปริมาณที่แนะนำให้ผู้สูงอายุทานต่อวันเพื่อสุขภาพที่ดีมีดังนี้2 ธัญพืช ประมาณ180 กรัม ให้ครึ่งหนึ่งเป็นธัญพืชชนิดไม่ขัดขาว ผักสีเขียว/สีส้ม 2 ½ ถ้วยตวง โดยควรปรุงสุกและนิ่ม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเคี้ยวและการย่อย กินผลไม้ที่หลากหลาย 1½ ถ้วยตวง และเสริมด้วยผลไม้แห้งที่นิ่มๆ เช่นลูกพรุน เป็นต้น


2. กินอาหารที่มีโพรไบโอติกส์ 

การกินใยอาหารอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องรักษาสมดุลจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ด้วย จึงจะช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ โพรไบโอติกส์คือชื่อเรียกกลุ่มจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ ที่จะย่อยใยอาหารชนิดพรีไบโอติกส์ และให้กรดไขมันชนิดที่เป็นพลังงานแก่เซลล์ลำไส้โดยตรง ลำไส้ใหญ่จึงแข็งแรง ทำงานได้เป็นปกติ โพรไบโอติกส์ชนิดที่ปลอดภัยและใช้ในอาหาร ได้แก่ แล็คโทบาซิลลัส พบได้ในพวกโยเกิร์ต นมเปรี้ยว และผลิตภัณฑ์นมเสริมโภชนาการครบถ้วนบางชนิด แต่ต้องเลือกที่ระบุว่ามีจุลชีพที่มีชีวิตเท่านั้น ไม่ใช่เป็นแค่ผลิตภัณฑ์จากการใช้เชื้อแล็คโทบาซิลลัสในกระบวนการผลิต การกินโพรไบโอติกส์ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายอีกด้วย โดยนักวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่กินอาหารเสริมใยอาหารพรีไบโอติกส์และจุลินทรีย์สุขภาพชนิด แล็คโทบาซิลลัส พาราคาเซอิ (Lactobacillus Paracasei) มีภูมิคุ้มกันที่ดี และติดเชื้อน้อยกว่า

3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 

ร่างกายผู้สูงอายุจะสูญเสียน้ำในร่างกายง่ายกว่า เพราะผิวหนังและชั้นไขมันบางลง จึงเสี่ยงต่อการได้รับน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยทำให้ท้องผูก โดยทั่วไปคนเราต้องการน้ำประมาณ 8-10 แก้ว(ขนาด200ml) ต่อวัน แต่ถ้าอากาศร้อนหรือมีไข้ อาจต้องการเพิ่มมากกว่านั้น นอกจากการดื่มน้ำแล้ว การกินอาหารหรือของว่างที่มีน้ำ เช่น ซุป ผลไม้ปั่น โยเกิร์ต เยลลี่ หรือคัสตาร์ด เป็นต้น4 เป็นวิธีง่ายๆที่ช่วยทำให้ได้รับน้ำได้เพียงพอในแต่ละวัน


4. ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกาย 

การออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน วิ่งเหยาะ รำมวยจีน ไทชิ หรือทำกิจกรรมเช่นทำความสะอาดบ้าน ทำสวนก็ได้ ประมาณ 30-60 นาที ต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ นอกจากจะช่วยให้ระบบการย่อย การเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นไปอย่างปกติแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพโดยรวม

การขับถ่ายของเสีย สำคัญอย่างไร ขับถ่ายเวลาไหนถึงจะดีที่สุด

ทำไมร่างกายของคนเราจึงต้องมีการขับของเสียอย่างสม่ำเสมอ? การขับถ่ายของเสีย สำคัญอย่างไร ขับถ่ายเวลาไหนถึงจะดีที่สุด?
การขับถ่ายของเสียถือว่าเป็นกระบวนการที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งต่อร่างกายของคนเรา เช่น การขับเหงื่อ การปัสสาวะ การอุจจาระ เป็นต้น การขับถ่ายของเสีย หรือ การอุจจาระ เป็นกระบวนการที่ร่างกายของจำเป็นที่จะต้องขับถ่ายทุกวัน เพราะในทุกๆ วันเราต้องรับประทานอาหารเพื่อเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย แต่บางอย่างที่เรากินเข้าไปนั้นก็ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ของเสียหรือของที่ร่างกายของเราไม่ต้องการ ก็จะถูกขับออกมาทางอุจจาระ ดังนั้นถ้าเราขับถ่ายของเสียไม่สม่ำเสมอ ไม่เป็นกิจวัตร ร่างกายของเราก็จะเสียสมดุลนั่นเอง

ควรขับถ่ายเวลาไหนถึงจะดีที่สุด?
แต่หลายๆท่านคงจะคิดว่าการขับถ่ายนั้น คนเราก็ขับถ่ายกันอยู่เสมอ ทำไมต้องเรื่องมากด้วย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ยังมีช่วงเวลาที่เหมาะสมในการขับถ่าย เพื่อให้ร่างกายของเรามีการกำจัดของเสียอย่างเป็นกิจวัตร และช่วยรักษาความสมดุลของร่างกายนั่นเอง ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการขับถ่ายคือช่วงเช้า เวลาประมาณ 5.00 - 7.00 น. โดยทั่วไปแล้วคนเราจะเริ่มรู้สึกอยากขับถ่ายภายใน 30นาทีหลังช่วงที่เราตื่นนอนหรือหลังรับประทานอาหาร ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่า ในช่วงเวลาที่เรากำลังนอนหลับพักผ่อนอยู่นั้น แต่อวัยวะภายในของเรายังคงทำงานอยู่โดยเฉพาะลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ที่จะทำหน้าที่ในการย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร เพื่อเป็นการเตรียมของร่างกายที่จะทำการขับของเสียเหล่านั้นออกจากร่างกายของเรา 
สำหรับผู้ที่มีกระบวนการขับของเสียออกจากร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอหรือคนที่ขับถ่ายเป็นปกตินั้น ส่วนใหญ่เวลาในการขับถ่ายจะเป็นเวลาที่ใกล้เคียงเวลาเดิมของทุกวัน แต่คนเรานั้นมีระบบการขับถ่ายที่แตกต่างกัน ซึ่งบางคนอาจจะขับถ่ายมากถึงวันละ 3 ครั้งต่อวัน แต่บางคนอาจจะขับถ่ายวันเว้นวัน ซึ่งก็ยังถือเป็นเรื่องปกติ แต่สิ่งที่สำคัญในการขับถ่ายนั้นก็คือ ความสม่ำเสมอ เป็นประจำและสุขลักษณะในการขับถ่ายของเสียที่ดี ก็เป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะช่วยให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกายของเรานั้นมีความสมดุลและทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับใครที่มีการขับถ่ายผิดปกติหรือไม่สม่ำเสมอ ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะเรามีตัวช่วยที่จะช่วยให้สามารถขับถ่ายอย่างปกติ
วิธีกระตุ้นการขับถ่ายมีดังนี้
วิธีที่ 1 การดื่มน้ำเปล่าหลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ดื่มน้ำทันทีเมื่อตื่นนอนจำนวน 1-2 แก้ว น้ำจะช่วยล้างลำไส้และช่วยในการกำจัดของเสียให้ออกจากลำไส้ อีกทั้งยังช่วยให้อุจจาระนิ่มขึ้นทำให้ขับถ่ายได้คล่องมากขึ้นอีกด้วย
วิธีที่ 2 การดื่มน้ำอุ่นผสมมะนาว โดยการบีบมะนาวลงไปเจือจางในน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ 1แก้ว แล้วก็ดื่มโดยที่เว้นระยะก่อนรับประทานอาหารเช้าประมาณ15-30 นาที น้ำอุ่นผสมน้ำมะนาวนั้นจะช่วยให้ลำไส้บิดตัวเพื่อขับสารพิษออกมาพร้อมกับอุจจาระ
วิธีที่ 3 การดื่มกาแฟในตอนเช้า วิธีนี้เป็นวิธีที่ใครหลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วก็เพราะว่า เมื่อทานกาแฟในตอนเช้าแล้วนั้นจะทำให้มีความรู้สึกปวดอุจจาระขึ้นมา เพราะว่าในกาแฟช่วยในการหลังกรดแกสตริน (Gastrin)และกรดคลอโรจีนิก (Chlorogenic Acids)ในกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารก็เลยมีกระบวนการทำงานที่ไวขึ้น ทำให้อาหารถูกส่งต่อไปที่ลำไส้และถูกขับออกมาได้เร็วขึ้น ท่านที่ทานกาแฟในตอนเช้าเป็นประจำอยู่แล้วก็คงจะคุ้นเคยกันดีกับกระบวนการขับถ่ายที่รวดเร็วทันใจเช่นนี้
สิ่งสำคัญคือทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยสูงจะช่วยให้ท่านขับถ่ายได้สะดวกมากยิ่งขึ้น และอีกอย่างที่สำคัญคือช่วงเวลาขับถ่ายที่สำคัญที่สุดคือตอนเช้านั่นเอง อย่าลืมทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเยอะๆ เพื่อสมดุลของร่างกายที่ดีกันทุกคน